พระสมเด็จวัดระฆังยุคต้นๆ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่หลวงวิจารณ์เจียรนัย(เฮง) ปัจจุบันราคา
เริ่มต้นที่ สอง-สาม ล้าน ในองค์ที่สภาพพอใช้แต่ในองค์ที่สวยๆ
ราคาหลักสิบล้านขึ้นไปแล้วครับ ดูข้อมูลจากแหล่งข่าวล่าสุดที่นี่ http://www.somdej1899.com ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
พระสมเด็จวัดระฆัง๕องค์๒๕๐ล้าน!
พระสมเด็จวัดระฆัง๕องค์๒๕๐ล้าน! องค์ลุงพุฒ-องค์ครูเอื้อ-องค์น้ำหมาก-องค์เสี่ยหน่ำ-องค์ขุนศรี
"พ.อ.(พิเศษ)ประจน กิตติประวัติ" อดีตนายทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด หรือ "ตรียัมปวาย" ได้จัดทำเนียบชุดพระเครื่อง "เบญจภาคี" ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง "ไตรภาคี" คือ มีเพียง ๓ องค์เท่านั้น ประกอบด้วย "พระสมเด็จ" วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน ซ้ายขวาเป็น พระนางพญา จ.พิษณุโลก และพระรอด จ.ลำพูน หลังจากนั้นจึงได้ผนวก "พระกำแพงซุ้มกอ" กำแพงเพชร และ "พระผงสุพรรณ" สุพรรณบุรี เข้าเป็นชุดเบญจภาคี สุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย จากค่านิยมกันในหลักพันบาท และทะยานเข้าสู่หลักล้านในปัจจุบันนี้
ทั้งนี้หากเมื่อมองย้อนกลับไปในครั้งนั้น พระเครื่องที่ได้รับความนิยมชมชอบมากเป็นพิเศษแล้ว คือ พระเครื่องที่มีพุทธคุณในด้าน "คงกระพันชาตรี" ซึ่งการจัดทำทำเนียบเบญจภาคีนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความนิยมพระเครื่องทั้ง ๕ องค์ ในชุดดังกล่าว อันล้วนเป็นพระเครื่องที่มีราคาการเช่าที่สูงๆ ทั้งสิ้น
"พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้สร้างขึ้น กล่าวกันว่าท่านเริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ภายหลังจากโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระสมเด็จพุฒาจารย์ จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า "พระสมเด็จ" และได้สร้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.๒๔๑๕ โดยได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้นหมดก็สร้างใหม่ ปลุกเสกด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านได้มาจากเมืองกำแพงเพชร ผู้แกะพิมพ์ถวาย คือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก
การเช่าการขายพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับแถวหน้าเช่น "องค์เสี่ยหน่ำ" อย่าง "องค์ลุงพุฒ" "องค์ขุนศรี" "องค์เล่าปี่" "องค์กวนอู" "องค์บุญส่ง" "องค์เจ้แจ๋ว" "องค์เจ๊องุ่น" "องค์ครูเอื้อ" "องค์เสี่ยดม" และ "องค์มนตรี" ล้วนมีการเช่าการขายกันองค์ละหลายสิบล้านบาททั้งสิ้น โดยเฉพาะ "องค์ขุนศรี" หรือ "องค์มนตรี" ซึ่งนายมนตรี พงษ์พานิช นักการเมืองชื่อดังในอดีตได้ครอบครอง เป็น พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ทรงเจดีย์ทั้งสององค์ เช่ากันเกือบ ๕๐ ล้านบาท แต่ก็เป็นที่ทราบกันในวงการพระเครื่องเท่านั้น เนื่องเพราะการติดต่อเรื่องราคาอยู่ที่ผู้ขาย และผู้เช่าเท่านั้น
อ.ราม วัชรประดิษฐ์ นักประวัติศาสตร์ด้านพุทธศิลป์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท์พระเครื่อง และเจ้าของ www.aj-ram.com บอกว่า ตำนานแห่งรังพระในอดีต ที่มีชื่อเสียงมีอยู่ ๔ รังใหญ่ๆ คือ ๑.รังพระของครูเอื้อ สุนทรสนาน เจ้าของตำนานพระสมเด็จองค์ครูเอื้อ ๒.รังพระของเจ้แจ๋ว เจ้าของสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ องค์เจ้แจ๋ว ๓.รังพระของท่านลพ ซึ่งเป็นพระภิกษุ ถือว่าเป็นรังที่มีพระพุทธรูปบูชาที่เก่าแก่จำนวนมาก และ ๔.รังพระของคุณฉ่าหลี ยงสุนทร อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่าเป็นเจ้าของรังพระที่รู้จักกันดีในวงการพระโบราณ มีพระชุดเบญจภาคีชั้นนำอยู่นับสิบองค์ เช่น เจ้าของพระสมเด็จ วัดระฆัง องค์ลุงพุฒิ พระสมเด็จวัดระฆัง องค์ขุนศรี
นอกจากนี้แล้วยังมีเจ้าของรังพระที่มีชื่อเสียงแต่ปัจจุบันกลายเป็นตำนานไปแล้วเช่นกัน คือ รังพระของเสถียร เสถียรสุต รังพระของอุดม กวัสราภรณ์ รังพระของชลอ รับทอง รังพระของมนตรี วงศ์วิรัช รังพระของอาจารย์นิยม อสุนี ณ อยุธยา รังพระของ เชาว์ ริเวอร์ รังพระของ พล.ต.อ.สนอง วัฒนวรางกูร และรังพระของกำนันชูชาติ มากสัมพันธ์
พระสมเด็จวัดระฆัง มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่พิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้ง ๕ พิมพ์ คือ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูน ลักษณะ พิมพ์ทรง เป็นรูปสมมุติของพระพุทธเจ้านั่งในระฆังคว่ำ องค์พระแลดูนั่งเอียงไปทางขวา ปลายพระเกศสะบัดเอียงไปทางซ้าย ในบางองค์อาจทะลุซุ้มด้านบน แลเห็นหูพระด้านซ้ายเป็นแนวจางๆ ยาวลงมา ไหล่ซ้ายดูยกสูงกว่าไหล่ขวา มองเห็นปลายพระบาท ยื่นเล็กน้อย ฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู
"ค่านิยมหรือราคา พระสมเด็จที่มีชื่อ ๕ องค์ ซึ่งเป็นพระสมเด็จองค์แชมป์ระดับตำนาน ประกอบด้วย องค์ลุงพุฒ องค์ครูเอื้อ องค์น้ำหมาก องค์เสี่ยหน่ำ องค์ขุนศรี น่าจะไม่ต่ำกว่า ๒๕๐ ล้าน หรือประมาณองค์ละไม่ต่ำกว่า ๕๐ ล้านบาท และที่สำคัญ คือ พระสมเด็จทั้ง ๕ องค์คงไม่ย้ายรังไปไหนอย่างน้อยอีก ๕๐ ปี เป็นแน่ เพราะเจ้าของรังล้วนขึ้นชื่อว่าเป็นอภิมหาเศรษฐี รวมทั้งมีลูกหลานที่พร้อมรักษาไว้เป็นสมบัติของตระกูลต่อไป" อ.ราม กล่าว
สำหรับประโยคคำพูดที่ว่า "ดิน" สร้างพระสมเด็จเป็นดินที่โคตรแพงที่สุดในโลก นั้น อ.ราม บอกว่า คงไม่ถูกทั้งหมดเพราะที่จริงแล้ว พระสมเด็จวัดระฆังไม่ได้ทำจากดิน หากทำขึ้นมาจากผงวิเศษต่างๆ ที่เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้รวบรวมเอาไว้ กว่าจะได้แต่ละอย่าง แต่ละชนิด ล้วนยากลำบาก ต้องผ่านกรรมวิธีมากมายในการจัดสร้างวัตถุมงคลให้เข้มขลังเชื่อถือได้ ตามแบบโบราณ แต่ถ้าจะเป็นดินที่โคตรแพงที่สุดในโลก น่าจะเป็นพระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งก็เป็น ๑ ใน ๕ เบญจภาคี เพราะพระรอดลำพูน ทำจากดินในสมัยโบราณ ยุคพระนางจามเทวี ล่าสุดมีการซื้อขายกันในสภาพสวยๆ ถึงองค์ละเกือบ ๒๐ ล้านบาท
พระสมเด็จองค์ขุนศรีย้ายรัง
"รังพระ" ที่ขึ้นชื่อของวงการพระเครื่องในปัจจุบัน ซึ่งมูลค่าของพระบางรังอาจจะสูงถึงหลักพันล้าน เช่น รังพระของนายไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ หรือ "โป๊ยเสี่ย" เจ้าของพระสมเด็จองค์ลุงพุฒิ (พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่) รังพระของนายปรีดา อภิปุญญา หรือ "เฮียหนึ่ง" เจ้าของพระสมเด็จองค์ครูเอื้อ (พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่) พระเครื่ององค์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระดังในตำนานที่ย้ายเข้าไปอยู่ในรังของ นายวิชัย รักศรีอักษร ประธานกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เจ้าของฉายา “เจ้าพ่อดิวตี้ฟรี” หรือ เสี่ยวิชัย มี ๒ องค์ คือ พระสมเด็จ "องค์เปาบุ้นจิ้น" และ พระสมเด็จ“องค์ขุนศรี”
ตำนาน พระสมเด็จ “องค์ขุนศรี” ออกสู่วงการเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งสมัยนั้น คุณอภิชาติ กุลอนรรฆพันธุ์ หรือรู้จักกันดีในนาม “ชาติ สมปอง” เป็นผู้อัญเชิญออกมาจากวังของเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าพระองค์หนึ่งซึ่งว่ากันว่าได้มาควบคู่กันกับพิมพ์เกศบัวตูมองค์แชมป์ออฟเดอะแชมป์อีกเช่นกัน และต่อมา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานองค์นี้ ถูกคุณนิยม อสุนี ณ อยุธยา นักสะสมพระเครื่องอาวุโสแห่งเมืองปากน้ำโพ เป็นผู้อัญเชิญไปครอบครองต่อ ก่อนที่จะเป็นข่าวใหญ่ฮือฮาเมื่อ นายมนตรี พงษ์พานิช อดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง นักการเมืองผู้ล่วงลับ ไม่ลังเลที่จะจ่ายถึง ๔๕ ล้าน
“พระสมเด็จองค์ขุนศรี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน ซึ่งมีประวัติตำนานการครอบครองและการยอมรับอย่างโดดเด่นควบคู่กันกับ “องค์ลุงพุฒิ” ความเดิมเล่าขานสืบกันมาว่า พระสมเด็จองค์นี้ ครั้งแรกอยู่ในครอบครองของคุณฉลี ยงสุนทร ซึ่งได้มาจากเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าพระองค์หนึ่ง ภายหลังนายอภิชาติ กุลอนรรฆพันธุ์ หรือ “ชาติ สมปอง” เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเจรจาแลกเปลี่ยน นำออกจากรังของคุณฉลี ควบคู่มากับพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม ตกเป็นข่าวใหญ่ในสนามพระยุคนั้น
แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก โดยชมรมพระเครื่องเบญจภาคี www.somdej1899.com
ประวัติพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต
พรหมรังสี)
การสร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น
ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓
ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง
ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม
นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน
และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์
ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย
ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง
ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย
เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย
และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว
ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง
อีกด้วย
ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จวัดระฆัง
โฆสิตารามได้รับการยกย่องเช่นนั้น
อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของพระสมเด็จเป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่
เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ
และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น
ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์
สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า
ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป)
และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย
ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย
นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จดังกล่าวแล้ว
ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต
พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง
ซึ่งมีผู้กล่าวเล่ากันฟังอย่างน่าศรัทธาในความเป็นปราชญ์ของท่าน
ดังสดับรับฟังมาขอถ่ายทอดสู่ท่านผู้อ่านดังนี้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี
ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐
ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ในขณะที่ท่านยังเป็นเด็กนอนแบเบาะอยู่นั้น
มารดาได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง
แต่พอท่านจำเริญวัยพอนั่งยืนได้ มารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม
จังหวัดพระนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสถาน
ที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประวัติชีวิตของท่านนั้น
ท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้หลายองค์ เช่น สร้างพระพุทธไสยาสน์
ที่วัดสะตือ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้าง พระมหาพุทธพิมพ์ ที่วัดไชยโย อำเภอไชยโย
จังหวัดอ่างทอง และสร้างพระศรีอาริยเมตไตรย ไว้ที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
กรุงเทพฯ เป็นต้น
สมัยเมื่อท่านยังเป็นเด็ก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร
เดิมชื่อว่าวัดบางขุนพรหมนอก
ส่วนวัดบางขุนพรหมในก็คือวัดบางขุนพรหมในปัจจุบันนี้ พออายุได้ ๑๒ ขวบ
ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้เข้ามาศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ณ
วัดระฆังโฆสิตารามแล้ว ปรากฏว่า
การศึกษาของท่านได้รับการชมเชยจากพระอาจารย์อยู่เสมอว่า
ความจำความเฉียวฉลาด ปราดเปรื่อง
ปฏิภาณไหวพริบของท่านนั้นเป็นเลิศหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก
ท่านเรียนรู้พระปริยัติธรรม ได้อย่างที่เรียกว่า รู้แจ้งแทงตลอด
นอกจากท่านจะได้ ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)
วัดระฆังโฆสิตารามแล้ว ท่านยังได้ไปฝากตัวศึกษา
ทางด้านปริยัติและด้านปฏิบัติกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน
ณวัดมหาธาตุ
นอกจากทางด้านปริยัติท่านจะได้ศึกษาอย่างรู้แจ้งรู้จบ
แล้ว ท่านยังได้หันไปศึกษา ทางด้านปฏิบัติ
เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสารกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน
อาจารย์รูปหนึ่งทางด้านปริยัติธรรมของท่าน
ซึ่งในขณะนั้นท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังทางปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว
อาจารย์ทางด้านวิปัสสนาธุระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนอกจากสมเด็จพระสังฆราช
(สุก) ไก่เถื่อน แล้งก็มีเจ้าคุณอรัญญิก วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
โดยเฉพาะสมณศักดิ์อรัญญิก ซึ่งแปลว่าป่า
ย่อมจะเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่าท่านเป็นผู้ชำนาญทางปฏิบัติ เพราะตำแหน่งนี้
เป็นตำแหน่งของด้านวิปัสสนาธุระอยู่แล้ว ยังมีเจ้าคุณบวรวิริยเถร
วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู และท่านอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี
ผู้โด่งดังทางด้านปฏิบัติและเก่งกล้าทางพุทธาคมอีกด้วย โดยที่สามเณรโต
ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ และไม่มีความทะเยอทะยานในลาภยศสรรเสริญ
ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้ที่เรียนรู้ในพระปริยัติธรรมและมีความเชี่ยวชาญถ่องแท้
ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี แต่สามเณรโตท่านก็หาได้เข้าสอบเป็นเปรียญไม่
นอกจากท่านจะมีความเชี่ยวชาญในด้านปริยัติธรรมดังกล่าว
แล้ว ท่านยังมีความสามารถในการเทศน์ได้ไพเราะ และมีความคมคาย
ที่จับจิตจับใจท่านผู้ฝัง มาแต่ครั้งท่านเป็นสามเณรอยู่ก่อนแล้ว
เรื่องนี้เป็นที่เล่าลือขจรขจายไปทั่วทิศ และด้วยเหตุสามเณรโตเป็นนักเทศน์
เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒)
ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปราณเป็นอย่างมาก
ถึงกับพระราชทานเรือกัญญาหลังคากระแชง ไว้ให้ใช้
และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงพระเมตตาสามเณรโตไม่น้อยเหมือนกัน
ทรงโปรดให้สามเณรโตเป็นนาคหลวงและอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ด้วย ในรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ให้เป็นพระราชาคณะ แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้ทูลขอตัวเสีย
ด้วยเหตุที่กลัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะพระราชทานสมณศักดิ์ให้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จึงได้ถือธุดงควัตรไปตามจังหวัดที่ห่างไกลเป็นการเร้นตัวไปในที
สืบต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ร.๔) โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ ในคราวนี้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ไม่ขัดพระราชประสงค์ อาจจะเป็นด้วยท่านชราภาพลงมาก
คงจะจาริกไปในที่ห่างไกลไม่ไหวแล้ว
เพราะตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔)
พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมกิติ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๙๕ นั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีเข้าไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ท่านได้ทรงผนวช
มาแต่พระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา และได้ทรงศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ ณ วัดราชาธิวาส
จนจบสิ้นตำรับตำรา ทรงมีความรอบรู้อย่างแท้ จนไม่มีครูบาอาจารย์รูปอื่นใด
จะสามารถอธิบายให้กว้างขวางต่อไปได้อีก จึงได้ทรงระงับการศึกษา
ทางด้านวิปัสสนาธุระไว้เพียงนั้น พอออกพรรษาก็เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ
ก็ทรงหันมาศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรม โดยได้เริ่มศึกษาภาษาบาลี
เพื่ออ่านและแปลพระไตรปิฎก ทรงค้นคว้าหาความรู้โดยลำพังพระองค์เอง
ทรงขะมักเขม้นศึกษาอยู่ (๒) ปี ก็รอบรู้ภาษาบาลีอย่างกว้างขวาง
ผิดกับผู้อื่นที่ไม่เคยศึกษามา
เมื่อกิตติศัพท์ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า
อยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เสด็จฯ เข้าแปลพระปริยัติธรรมถวาย
ตามหลักสูตรเปรียญในเวลานั้นพระองค์ทรงแปลอยู่ ๓ วัน
ก็ปรากฏว่าแปลได้หมดจนจบชั้นเปรียญเอก จึงพระราชทานพัดยศ สำหรับเปรียญเอก ๙
ประโยคให้ ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ต่อมา
ฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จึงเข้าทำนองปราชญ์ย่อมเข้าใจปราชญ์
ด้วยเหตุฉะนี้กระมัง พระองค์จึงโปรด
และมีพระมหากรุณาธิคุณต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต )
วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพิเศษ บางโอกาสแม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จะแสดงข้ออรรถข้อธรรมอันลึกซึ้ง ที่ขัดพระทัยอยู่บ้าง ก็ทรงอภัยให้เสมอ
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อออกพรรษาเป็นเทศกาลทอดกฐินพระราชทาน
พระองค์ทรงโปรดให้อารามหลวง ในเขตกรุงเทพมหานคร
จุดการตกแต่งเรือเพื่อการประกวดประชันในด้านความงามและความคิด
เมื่อขบวนเรือประกวดล่องผ่านพระที่นั่งเป็นลำดับๆ
ซึ่งล้วนแต่ตกแต่งด้วยพันธุ์บุปผานานาชนิดสวยงามยิ่งนัก
ครั้นมาถึงเรือประกวดของวัดระฆังโฆสิตารามเท่านั้น เป็นเรือจ้นเก่าๆลำหนึ่ง
ที่หัวเรือมีธงสีเหลืองทำขึ้นจากจีวรพระ มีลิงผูกอยู่กับเสาธง
ที่กลางเรือมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นอนเอกเขนกอยู่เท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทอดพระเนตรเห็นเท่านั้นก็เสด็จขึ้นทันที แล้วตรัสว่า
ขรัวโตเขาไม่ยอมเล่นกับเรา แต่ก็ทรงทราบด้วยพระปรีชาว่า
การที่ขรัวโตประพฤติเช่นนั้น ทำเป็นปริศนาให้ทรงทราบว่า
ความจริงแล้วพระสงฆ์องค์เจ้าอย่างท่านนั้น
ไม่ได้สะสมทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด
มีเพียงอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จะจัดหาสิ่งของเอามาตกแต่งเรือ
ให้สวยงามได้อย่างไร คงมีแต่จีวรที่แต่งแต้มสีสัน
กับสัตว์เลี้ยงคือลิงที่มักแลลิ้นปลิ้นตา
ดังวลีที่ว่าการกระทำเช่นนั้นความจริงแล้ว มันเหมือนกับทำตัวเป็น
ลิงหลอกเจ้า นั่นเองแต่พระองค์ก็ทรงอภัยโทษหาได้โกรธขึ้งไม่
การกระทำเช่นนั้น ถ้าเป็นบุคคลอื่นคงจะหัวขาดเป็นแน่
เรื่องอันน่าสนใจในพระเดชพระคุณเจ้ารูปนี้
ยังมีที่น่าขำขันอีกมากมาย แต่ในเรื่องราวเหล่านั้นท่านได้สอดแทรกคติธรรม
ปริศนาธรรมอย่างลึกซึ้งให้เราท่านได้ขบคิดและน่าจะได้ใคร่ครวญสืบต่อไป
ถึงแม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
จะประพฤติปฏิบัติตามความพอใจของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่น
จึงมีเรื่องเล่าถึงการที่ท่านปฏิบัติแปลกๆ มากมาย
แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร ๔) ก็ทรงพระเมตตา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯอยู่เสมอมา
เข้าทำนองนักปราชญ์ย่อมเข้าใจในการกระทำของนักปราชญ์ฉะนั้น ประการหนึ่ง
และยิ่งกว่านั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ซึ่งมีความ
เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ คันถธุระ ขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้นแล้ว
ในวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ก็เยี่ยมยอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร ๕)
ทรงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ผู้ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์อย่างเจนจัดเชี่ยวชาญ
ผูกดวงชะตาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ผูกไว้ให้แก่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวงศ์วโรปการ
ถือเป็นหลักในวิชาพยากรณ์
ดวงชะตาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯมีดังนี้
อาทิตย์ เป็นศรี
เป็นมหาอุจจ์กุมลลัคนาบรรลุความสำเร็จสูงสุดทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียง
เป็นผู้มีอารมณ์ขัน เพราะสมาสัปต์กับศุกร์
ลัคนา เกาะปัญจมะนวางค์ อาทิตย์ (ศรี) ทุติยตรียางคอาทิตย์ (ศรี) เสวยภรณีฤกษ์ที่ ๒ ประกอบด้วยมหัธโนแห่งฤกษ์
จะเป็นด้วยราหูเป็นอายุ เป็นมหาอุจจ์ และเพราะสมาสัปต์กับศุกร์
จึงทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้มีอารมณ์ขันหรืออย่างไรก็เหลือเดา
จึงมีเรื่องที่แสดงถึงความเป็นผู้มีอารมณ์ขันของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
อยู่เสมอ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามธนบุรี
ท่านเป็นผู้ทรงคุณวิเศษหลากหลายประการด้วยกัน ดังได้กล่าวไปบ้างแล้วนั้น
มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯกับหลวงปู่ภู
วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม ท่านทั้งสองได้เดินผ่านพระเจดีย์องค์หนึ่ง
ซึ่งช่างได้ทำการบูรณะโดยการโบกปูนปิดฐานพระเจดีย์ที่ชำรุดให้คงสภาพดี
เหมือนเดิม
บังเอิญภานในพระเจดีย์ที่โบกปูนปิดช่องลมที่ฐานพระเจดีย์นั้นมีคางคกสองตัว
ติดอยู่หาทางออกไม่ได้ต่างดิ้นทุรนทุราย
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านทราบด้วยตาทิพย์
ท่านจึงเอ่ยถามหลวงปู่ภูซึ่งท่านก็ได้ตาทิพย์เช่นกัน
ท่านจึงตอบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไปว่า คางคกสองตัว
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงให้หลวงปู่ภูเอาคางคกที่ติดอยู่ภายในฐานพระเจดีย์
ออกมาโดยการทุบตรงที่โบกปูนนั้น
จากพฤติกรรมดังกล่าวแล้วนั้น
แสดงว่าทั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จและหลวงปู่ภู
วัดอินทรวิหารผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯล้วนแต่ทรงคุณวิเศษ
ทั้งคู่ นั่นย่อมหมายความว่า ท่านสำเร็จอภิญญา
คือความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา
ในบรรดาพระอาจารย์ผู้สำเร็จวิชาสตรโสฬส
และทรงคุณวิเศษดังกล่าวแล้วนั้น มีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
รวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง ท่านจึงสามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ ตลอดจนคุณวิเศษต่างๆ
ได้นานัปการนอกจากนั้นท่านยังเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต
บางครั้งบางโอกาสท่านอาจจะทำเป็นโง่แบบเถรตรงจนเกินไปก็มี
คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เมล็ดพระศรีมหาโพธิ์มาจากพระพุทธคยา
ทรงเพาะขึ้นแล้วมีรับสั่งให้ส่งต้นพระศรีหาโพธิ์ที่เพาะขึ้นนั้น
ไปปลูกตามพระอารามหลวง เจ้าพนักงานได้มีใบบอกไปตามวัดต่างๆ ให้มารับไป
เจ้าอาวาสทั้งหลายได้มารับเอาไปปลูก โดยเอาเรือจ้างบ้าง เรือถ่อบ้าง
มารับเอาไป ส่วนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไม่ยอมไปรับ กลับมีลิขิตตอบไปว่า
ท่านไปรับไม่ได้เกรงจะเป็นการดูหมิ่นต่อเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
ควรบอกเจ้าหน้าที่นำเรือกัญญาไปรับต้นพระศรีมหาโพธิ์
แล้วมีเรือตั้งนำเชิญไปพระราชทานตามวัด จึงจะสมควรแก่เกียรติยศ
เจ้าหน้าที่ได้นำลิขิตของขรัวโต ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงกรุณาโปรดเกล้าฯว่า ถูกของท่าน
พวกเจ้ามักง่าย
ด้วยเหตุนี้บรรดาวัดต่างๆ ที่รับต้นศรีมหาโพธิ์ไปแล้ง
ต้องนำมาส่งคืน เจ้าพนักงานต้องเชิญต้นศรีมหาโพธิ์ลงเรือกัญญา
มีเรือขบวนแห่ไปส่งตามพระอารามหลวงจนทั่วกัน ด้วยภูมิอันฉลาดแหลมคม
ตลอดจนความเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งได้รับคำยกย่องว่า
ท่านเป็นเอตทัคคะรูปหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
บางโอกาสท่านจึงได้แสดงพฤติกรรมบางอย่างบางประการออกไป
ในทางพิลึกพิเรนทร์ที่มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาๆ เขาไม่นิยมกระทำกัน
แต่ทว่าท่านกลับเป็นผู้กระทำเสียเอง แต่ถ้าดูกันอย่างผิวเผิน
จักเห็นว่าท่านเป็นคนสติเฟื่องจึงกระทำเรื่องบ๊องๆ เช่นนั้น
แต่ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้ให้ถึงซึ่งความเป็นจริง
และเป็นสัจธรรมคำสอนตามพุทธธรรม ในพุทธองค์แล้ว
การกระทำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ท่านได้สอดแทรกแก่นแท้ของหลักธรรมเอาไว้ทั้งสิ้น อย่างเช่น
ในกรณีที่พระลูกวัดของท่านสองรูป ที่กำลังทะเลาะกันอย่างรุนแรง
ถึงขั้นจะลงมือลงไม้กันทีเดียว ถ้าท่านเป็นเจ้าอาวาส
ก็จะเข้าไปห้ามปรามนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
แต่ทว่าท่านรีบขวนขวายหาดอกไม้ธูปเทียน
แล้วรีบไปหาสองพระลูกวัดที่กำลังทะเลาะกันอยู่นั้น พร้อมกับก้มลงกราบ
แล้วพูดว่า ท่านทั้งสองเก่งมาก อาตมากลัวแล้ว ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย
พระภิกษุทั้งสองรูปเมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นก็ต้องเลิกรากันในทันที
แล้วรีบคุกเข่ากราบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
และและแทนที่ท่านจะดุว่าพระทั้งสองแม้สักคำน้อยก็หาไม่ ท่านกลับว่า
ที่ท่านทั้งสองทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น เพราะอาตมาปกครองท่านไม่ดีต่างหาก
หาได้เป็นความผิดของท่านทั้งสองไม่
ท่านเคยได้พบเห็นหรือท่านเคยได้ยินพฤติกรรมอย่างนี้มีที่ไหนบ้าง
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้นำหลักธรรมคำสอนที่ว่าด้วย
ชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ เวรระงับด้วยการไม่จองเวร ทำนองนี้
นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุดังกล่าวแล้ว
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร
ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย
และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง
ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย
และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ
ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า
เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย
ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ
และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม
เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว
จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว)
แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้ง
แล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์บังคับ
บนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ
เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ
หรือผงพุทธคุณนั่นเอง
นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า
ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร
และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน
จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน
ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ
ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ
กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย
และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ
ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน
จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว
จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป
เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้
เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม มีความหนึกนุ่ม
เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช
เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น
ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน
สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น
ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย
คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต
เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง
อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์
หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆ
ที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่อง ได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์
(อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธาน
ในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี
เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว
ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง
และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย
เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น
น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
นั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย
หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน
เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง
สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น
เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร
นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว
ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย
เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน
ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก
โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด
แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม
การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
- เป็นที่ค่อนข้างจะเชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์
โต ท่านสร้างสมเด็จวัดระฆังของท่านไปเรื่อยๆ
จนท่านอาจจะมีการดูฤกษ์เป็นกรณีพิเศษ
แล้วท่านก็สร้างขึ้นมาท่านมีกำหนดว่าจะสร้างกี่องค์ ท่านก็สร้างขึ้นมา
แต่มั่นใจว่าท่านไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เพื่อแจกไว้นานๆ
- วันไหนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กำหนดจะสร้างพระ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะเอาปูนเอาส่วนผสมต่างๆ
มาตำได้เนื้อพระสมเด็จมาก้อนหนึ่ง แล้วปั้นเป็นแท่งสี่เหลียม
ตัดออกเป็นชิ้นๆ ในสมัยก่อนเรียกว่า ชิ้นฟัก
- แล้วนำเนื้อสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์
ซึ่งแกะจากหินชนวนกดเนื้อพระ กับแม่พิมพ์ให้แน่น
นำเอาไม้แผ่นมาวางทับด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง แล้วใช้ไม้หรือของแข็ง
เคาะที่ไม้ด้านหลังเพื่อไล่ฟองอากาศ และกดให้เนื้อพระสมเด็จแน่นพิมพ์
- จึงจะเอาไม้แผ่นด้านหลังออก จึงปรากฏรอยกระดานบ้าง
รอยกาบหมากบ้างบนด้านหลัง ขององค์สมเด็จวัดระฆัง
กลายเป็นจุดสำคัญและเป็นหัวใจของการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
- เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพระบนพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัด
ตอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน
- ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ไม่ใช้มีดเพราะเป็นพระไม่ควรใช้ของมีคม วิธีตัดตอกนั้นตัดจากด้านหลัง
ไปด้านหน้า โดยเข้าใจว่าในแม่พิมพ์พระสมเด็จ ที่เป็นหินชนวนนั้น
จะบากเป็นร่องไว้สำหรับนำร่องการตัดตอก
- เพราะพระสมเด็จวัดระฆัง
บางองค์ที่ขอบมีเนื้อเกินจะเห็นเส้นนูนของร่องไว้ให้สังเกต
การตัดตอกพระสมเด็จวัดระฆัง จากด้านหลังไปด้านหน้า จึงเกิดร่องรอยปรากฏ
ที่ด้านข้างขององค์พระ และรอยปริแตกขององค์พระ ด้านหลังที่ลู่ไปตามรอยตอก
ที่ลากลงร่องรอยต่างๆ
- เมื่อผ่านอายุร้อยกว่าปีมาแล้ว การหดตัวขององค์พระสมเด็จฯ
การแยกตัวของการปริแตกตามรอยตัด
กลายเป็นตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่สำคัญที่สุด
- เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพิมพ์สร้างพระสมเด็จฯ
จนหมดเนื้อแล้วก็คงหยุด คงไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต นำมาสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนที่สุด
อันดับแรก ประกอบด้วยปูนเปลือกหอย คือเอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว
- ในสมัยก่อนมีปูนเปลือกหอยมาก แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยมีแล้ว
อันดับสอง คือส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๊ว เพราะเคยเห็นมากับตา
เวลาพระสมเด็จวัดระฆัง ชำรุดหักจะเห็นเป็นน้ำมันตังอิ๊ว
เยิ้มอยู่ข้างในเนื้อพระเป็นจุดๆ
- อันดับที่สาม มีปูนอีกชนิดหนึ่งเขาเรียกว่า ปูนหิน
มีน้ำหนักมากไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร
ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตว่าตามโรงงิ้วพวกงิ้วจะเอาแป้งจากปูนหินสีขาวๆมาพอก
หน้า เป็นพื้นแล้วจะติดแน่น
- เอาเนื้อสามส่วนนี้เป็นหลักมาผสมกัน
ยังมีมวลสารชนิดหนึ่งเป็นเม็ดสีเทาๆมองเหมือนก้อนกรวดสีเทา แต่ไม่ใช่
เพราะเนื้อนิ่มเวลาเอามีดเฉือนจะเฉือนเข้าง่าย จึงไม่ทราบว่าเป็นมวลสารอะไร
- และเคยเจอผ้าแพรสีเหลือง
เข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูป แล้วเวลาเก่า หรือชำรุด
แทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูป มีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง
- ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต
ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้
แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
- ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ
สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมด
เมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง
- นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง
จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง
-
วัสดุอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือมีเม็ดแดงเหมือนอิฐผสมอยู่ในเนื้อของพระ
สมเด็จวัดระฆัง เม็ดแดงนี้ขอยืนยันได้เลยว่า
เป็นเศษเนื้อพระซุ้มกอตำให้ละเอียดแล้วผสมไว้กับมวลสารที่จะสร้างพระสมเด็จ
วัดระฆัง
- เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก
สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ
แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล
เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก
จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล
-
จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง
ที่สำคัญที่สุด
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน
เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว
ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง
- แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่า
อาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทอง
ให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชา เป็นร้อยเป็นพันปี
- บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย
จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ ให้พระสมบูรณ์
เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชา ในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี
- ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต
เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง
จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบัน
อายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น
- วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน
จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆ เม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ
เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆัง แท้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระ
บนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก
นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ
นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง
พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
- พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ ๕ ชนิด คือ
ปถมัง , อิธะเจ , มหาราช , พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ
การเกิดผงวิเศษทั้ง ๕ นี้
นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕
มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริการพระคาถา
เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ
ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ
ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์
ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ ในแต่ละบทกำหนดไว้
ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ”
- เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ
ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง
มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ
ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ดครั้งใหม่
ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด
เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช
แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ
หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์
และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ
ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕
มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี )
จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียดอันเป็นส่วนผสม
หลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย
โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้
จากนั้นจึงนำพระที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดย นายเทศ
แห่งช่างหล่อ
- การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างไปแจกไป มิได้เก็บลงกรุ โดยประมาณว่ามีการสร้างถึง ๘๔ , ๐๐๐ องศ์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์
พระสมเด็จวัดระฆัง ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกันคือ
๑ พิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่
๒ พิมพ์ทรงเจดีย์
๓ พิมพ์เกศบัวตูม
๔ พิมพ์ฐานแซม
๕ พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึง ไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า
พระพิมพ์ใหญ่
เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง ๔
พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ
และความสมบรูณ์สมส่วนขององศ์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด
ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณเหมาะสม
จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้
นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด
- พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด
เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา
และเนื้อแก่ปูนในพระพิมพ์นี้ สามารถแยกแยะออกเป็น ๓
โครงสร้างใหญ่ด้วยกันโดยถือเอารูปร่างขององค์พระเป็นตัวกำหนด
• พระพิมพ์ ๑ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา พระพักตร์ค่อนข้างกลมใหญ่ หรือเรียกว่า ( เอวหนา หน้าใหญ่ )
• พระพิมพ์ ๒ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา ส่วนพระพักตร์นั้น
จะเรียวอูมตรงกลางและรูปพระพักตร์นั้นยาวกว่าพิมพ์แรก
หรือที่เรียกว่ารูปพระพักตร์แบบ “ ผลมะตูมใหญ่ ” ( เอวหนา หน้ากลาง )
• พระพิมพ์ ๓ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์บาง
คอดหายไปตรงส่วนปลายรูปพระพักตร์จะเรียวอูมรีเล็กกว่าทุกพิมพ์ที่เรียกว่า “
ผลมะตูมเล็ก ” ( เอวบาง หน้าเล็ก )
- เนื่องจากแม่พิมพ์ของพระเป็นการสร้างด้วยมือ และมีหลายอัน
จึงทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปบ้าง
แต่ยังคงเค้าโครงหลักดังกล่าวมาแล้ว
ถึงกันนั้นความแตกต่างในส่วนของเค้าโครงก็มิได้มีผลต่อความแตกต่างเรื่องค่า
นิยม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในค่านิยมคือ ความสมบรูณงดงามขององค์พระ
นับเป็นปัจจัยหลัก
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์
- พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์
นี้นับได้ว่าเป็นพระที่มีลักษณะโดยรวมของลำพระองค์ ( ลำตัว )
ขององค์พระที่หนากว่าทุกพิมพ์ และรูปทรงทั้งหมดจากพระเกศถึงฐานชั้นล่างสุด
จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ พระพิมพ์นี้สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น ๒
ลักษณะใหญ่ๆ คือ
• พระพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะพบว่าส่วนของพระพักตร์
จะมีลักษณะอูมเกือบกลม ด้านข้างของพระพักตร์ จะมีเส้นพระกรรณ ( หู )
ติดอยู่ไรๆ ไม่ชัดเจนเท่าพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับพระที่ยังคงความสมบรูณ์
และการกดในช่วงแรกของการทำ ก่อนที่แม่พิมพ์จะเริ่มลบเลือน ส่วนลำพระองค์ (
ลำตัว ) จะล่ำ เอวหนา และวงพระกร ( วงแขน ) จะสอบเข้าหาลำตัว ( วงพระกรแคบ
)
• พระพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก
พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะโดยรวมผอมบางกว่าพิมพ์แรก พระพักตร์ ( หน้า )
จะเรียวกว่า ปลายพระเกศจะสั้น หลายองค์ที่พบเห็นพระเกศจะไม่จรดซุ้มด้านบน
ลำพระองค์จะหนาเป็นรูปกระบอก ( แต่เว้าเอวเล็กน้อย ) ลำพระกร ( ลำแขน )
ช่วงบนจะหนาอูมแบบแขนนักกล้าม และวาดลำพระกรแคบ ( วงแขนแคบ )
มากกว่าสมเด็จทุกพิมพ์ ในพระที่มีความสมบรูณ์ จะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน
- พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่
จะมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หากมีความสมบรูณ์ เท่ากัน
แต่พิมพ์ทรงเจดีย์เล็กอาจจะมีค่าความนิยมสูง
หากความสมบรูณ์ชัดเจนมากกว่าพิมพ์เจดีย์ใหญ่
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม
- พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม
เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองมาจากพิมพ์พระประธาน
ความนิยมนับว่าใกล้เคียงพิมพ์เจดีย์ แต่ความล่ำสันขององค์พระ
และปริมาณที่พบน้อยกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์
จึงทำให้ลำดับความนิยมสูงกว่าทรงพิมพ์เจดีย์เล็กน้อย
- สาเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “ เกศบัวตูม ”
นั้นเนื่องมาจากรูปพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้ จะมีความกว้างของหน้าผาก
แล้วเรียวลงมาสู่ลูกคางเล็กน้อย และจะมีความมุ่นเมาลีเหนือพระเคียร
เป็นกระเปาะเล็กน้อย ก่อนที่จะถึงส่วนปลายของพระเกศคล้ายรูปดอกบัวคว่ำ
ที่สำคัญจะปรากฏเส้นพระกรรณ ( หู ) ที่ยาวเกือบจรดพระอังสา ( บ่า )
แทบทุกองค์
พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูมนี้ แบ่งตามโครงสร้างของโดยรวมของลำพระองค์ได้เป็น ๒ ประเภทคือ
• พิมพ์เกศบัวตูมใหญ่ จะมีลักษณะลำพระองค์หนา
บางองค์เกือบเป็นรูปทรงกระบอก พระพักตร์ใหญ่ ค่อนข้างกลม รูปของลำพระกร (
ท่อนแขน ) จะล่ำหนา
• พิมพ์เกศบัวตูมเล็ก
มีลักษณะของลำพระองค์ที่เรียบบางกว่าพิมพ์แรก ( เอวคอด )
รูปพระพักตร์เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ( คางมน ) ลำพระกร ( ท่อนแขน )
จะบางเล็ก จะเด่นของพระพิมพ์นี้คือจะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน
พาดผ่านลำพระองค์โดยตลอด นับเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ที่มีความคมลึก
และรายละเอียดชัดเจนมาก}}
- ค่าความนิยมของพระพิมพ์นี้ขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์คมลึกของรายละเอียดที่รวมอยู่ในองค์ พระเป็นหลัก
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม
- พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม
เป็นพระที่ได้รับความนิยมรองมาจากทุกพิมพ์ที่กล่าวมาข้างต้น
สาเหตุที่เรียกพิมพ์นี้ว่า “ พิมพ์ฐานแซม ”
เนื่องจากมีเส้นแซมที่ใต้องค์พระกับฐานชั้นบนสุด
และระหว่างฐานชั้นบนสุดกับฐานชั้นกลาง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม สามารถแบ่งตามโครงสร้างของพระองค์ได้ ๓ ประเภทคือ
• พิมพ์ที่ ๑ จะมีลักษณะรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่อูมรีใหญ่
ลำพระองค์จะหนาเกือบเป็นทรงกระบอกจนบางองค์แทบไม่มีเส้นโค้งข้างลำพระองค์
เลย
• พิมพ์ที่ ๒ จะมีลักษณะของรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า )
เรียวและอูมน้อยกว่าพิมพ์แรก ลำพระองค์ ( ลำตัว )
จะเล็กกว่าพิมพ์แรกมีเส้นเอวให้เห็นชัดเจนขึ้น
พระที่กดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏเส้นคอให้เห็นด้วย
• พิมพ์ที่ ๓ จะมีลักษณะพระพักตร์ ( ใบหน้า )
ที่เรียวยาวมากกว่าสองพิมพ์แรก เส้นพระกรรณ ( หู )
ข้างพระพักตร์จะติดชัดเจน ลำพระองค์ ( ลำตัว ) บาง เอวคอด
ในพระที่มีความคมชัดจะปรากฏเส้นสังฆาฏิพาดลำพระองค์ชัดเจน
มากขึ้น
- สำหรับความแตกต่างในด้านค่านิยมทั้ง ๓ พิมพ์
แทบจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ความสวยงาม ความสมบรูณ์ คมชัด
เป็นสิ่งที่กำหนดความแตกต่างของค่านิยมพระพิมพ์นี้
๕ พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภาย
หลังจึง ไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล ทีมงานชมรมฯ
www.somdej1899.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น